ธาตุธรรมมี3 สาย/ขาว-ดำ-กลาง/


นิพพานกายธรรมมีกายโต

 กล่าวถึงนิพพานกายธรรม  ทรงมีธรรมกายโตขึ้น  เดิมหน้าตัก  20  วา  ก็โตขึ้นกว่าเดิม  มีกติกาดังนี้
 เดิมตรัสรู้ได้  84,000  ธรรมขันธ์  หากตรัสรู้ได้อีก  84,000  ธรรมขันธ์  ธรรมกายของพระองค์โตขึ้น
ไปอีก  20  วา  ยิ่งตรัสรู้ได้มาก  ธรรมกายก็ยิ่งโตขึ้นไปอีก
อันนี้เป็นความรู้ใหม่  เราไม่ได้คิดมาก่อน  เป็นเหตุบังเอิญแท้ ๆ  พวกเราเข้านิพพาน  ตกใจตาม ๆ กัน  ทำไมพระพุทธเจ้ามีธรรมกายโตนัก  เราจึงได้ความรู้ว่า  การที่ตรัสรู้ได้เพียง  84,0100  ธรรมขันธ์นั้น  เป็นเพราะมารเขาสกัดกั้น  จึงตรัสรู้ได้แค่นั้น 
        ตรัสรู้เพียงแค่นี้ยังสู้มารเขาไม่ได้  ต้องตรัสรู้ไปให้มากกว่านั้น อย่างพระสมณโคดมทรงเห็นวิชชาอิทธิบาทภาวนา  ส่งผลให้กายมนุษย์มีอายุยืนเป็นกัปกัลป์ได้ ไปแสดงอุบายให้พระอานนท์อาราธนาในที่ต่าง ๆ 16  ตำบล   พระอานนท์ก็ไม่อาราธนา  พอครบกิจ โสฬสสิบหก  (กายธรรมพระโสดา  กายธรรมพระสกิทาคามี  กายธรรมพระอนาคามี  และกายธรรมพระอรหัต  ตรัสรู้อริยสัจ 4  แจ้งทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค)  
       พระอานนท์นึกได้กล่าวอาราธนา  พระพุทธองค์จึงทรงรับอาราธนาไม่ได้  เพราะผิดพุทธประเพณี  พอพระพุทธองค์ทรงเห็นวิชชาดี  มารไม่ยอมแล้ว  จะให้นิพพานอย่างเดียว  เอาโรคมาใส่ให้  เพื่อให้
ตายเร็ว ๆ  มีเหตุผลว่า  เมื่อเห็นวิชชาละเอียดขึ้น  จะเป็นสื่อให้ไปเห็นวิชชาที่เขาทรมานสัตว์โลก  ไปเห็นวิชชาปกครองของเขาเข้า  แล้วจะมาคิดสู้กับเขาหนหลัง  คือ  คิดรบกับเขาอย่างที่ข้าพเจ้า
      (หมายถึงท่านอาจารย์คุณลุงการุณย์   บุญมานุช)   รบกับเขาในทุกวันนี้   ในที่สุดพระพุทธองค์ก็อาพาธและเข้านิพพานในที่สุด   เรื่องมันอย่างนี้ กลับมาเรื่องตรัสรู้กันต่อไป   ท่านอยากถามว่า  ต้องตรัสรู้แค่ไหนจึงจะชนะมาร  ข้อนี้ตอบไม่ได้  ต้องให้งานปราบมารของข้าพเจ้ายุติเสียก่อนจึงจะตอบ
ได้ในตอนนั้น
ท่านอย่าเพิ่งเชื่อข้าพเจ้า (คือท่านอาจารย์คุณลุงการุณย์  บุญมานุช)   ควรเข้ากายธรรมไปทูลถามพระพุทธเจ้าในนิพพานดูก็ได้  เพราะท่านก็เป็นธรรมกายเหมือนกับข้าพเจ้า  ท่านมีสิทธิ์ตรวจสอบความถูกต้องทุกเรื่องที่ข้าพเจ้านำมากล่าวทั้งหมด

             ท่านอาจารย์คุณลุงการุณย์  บุญมานุช  ได้อธิบายเพิ่มเติมว่าได้คติมาจาก อ.แม่ชีถนอม  จึงนำความรู้วิชชาปราบมารออกเผยแพร่  เพราะวิชชาปราบมารยากเหลือหลาย   ยากที่จะเป็น   ยากที่จะรู้   ยากที่จะทำ   ยากที่จะอธิบาย   ไม่ใช่ความรู้ธรรมดา  เพียงคำพูดของหลวงพ่อท่านว่า  “ค้นคว้ากันถึง 2,000 ปีทีเดียว จากข้อมูลที่เล่ามานี้  ท่านทั้งหลายจะเห็นว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านรับภาระหนักหนาเพียงไร   ขนาดตี 3  ยังต้องไปตรวจเวรการทำวิชชาปราบมารที่โรงงานทำวิชชา  และกว่าที่วิชชาธรรมกายจะแพร่หลายไปดังในทุกวันนี้  หลวงพ่อเหนื่อยมากมายยิ่งนัก



                                     โดยอาจารย์ วิบูลย์ รัตนพงษ์วัฒนา  //ห้องพระมงคลมุนีฯ

                               ข้าฯผู้นำมาลงต้องการให้อ่านดูเป็นความรู้ เรียนต้องเข้าห้องพพพพพพ


วิชชาขยายสิทธิข่ายญาณตอนที่  5

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจสุดยอดวิชชาชั้นสูงต่อไปนี้ก่อน

1.สิทธิและอำนาจ   “สิทธิ”  และ  “อำนาจ”   ทั้ง  2  อย่างนี้ต่างกัน
“สิทธิ”  หมายถึง  ได้สิทธิในสิ่งนั้น ๆ  บริบูรณ์เต็มที่  เช่นได้สิทธิเป็นกษัตริย์   ได้สิทธิเป็นจักรพรรดิ  ได้สิทธิเป็นพ่อบ้านแม่เรือน  ได้สิทธิในพื้นที่ดืน  เป็นเรือกสวนไร่นา  เป็นต้น
ส่วน  “อำนาจ”  นั้น  เป็นของมีขึ้นเนื่องจากสิทธินั้น  เช่นกษัตริย์มีสิทธืปกครองอาณาจักรไปแค่ไหน ?  อำนาจก็มีไปแค่นั้น   หรือพ่อบ้านแม่เรือนเป็นผู้มีสิทธิในพื้นที่เรือกสวนไร่นาของ ๆ ตน  มีสิทธิปกครองสิทธิ์ขาดแค่ไหน ?   อำนาจของตนก็มีสิทธิไปแค่นั้น
วิธีแสวงหาสิทธิทางโลก   ต้องใช้วิธีต่าง ๆ นานา  ตลอดจนถึงเบียดเบียนรบราฆ่าฟันกันเป็นพวก ๆ ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ   เข้าประหัตประหารกัน  เพื่อแย่งสิทธิกันนั่นเอง  เพราะชาติใดพวกใดได้สิทธิขยายเขตออกไปมากแค่ไหน ?  อำนาจปกครองก็ขยายส่วนไปแค่นั้นตามสิทธิ
        ส่วนการแสวงหาสิทธิในทางธรรมนั้น  ไม่ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ประหัตประหารกันเช่นนั้น  ใช้สมาธิจิต  หรือจิตตานุภาพที่หยุดนิ่ง  จนละเอียดไม่มีสิ้นสุด  ที่เรียกว่า  “อนัตตญาโณ”  นับเป็นเครื่องหาสิทธิของเขามา  คือเอากายทั้งหมดทุกกายตลอดวงศ์สายขาว  วงศ์สายกลาง  และสายดำ  ทั้ง  เถา-ชุด-ชั้น-ตอน-ภาค-พืด   มาซ้อนสับทับทวีเข้าในกายมนุษย์   กลั่นให้ใสสะอาดดี  แล้วเอาจุลจักรกับพวกบริวารพร้อมด้วยสมบัติรัตนะ 7 ประการ      และมหาจักรกับพวกบริวารพร้อมด้วยสมบัติรัตนะ  7  ประการ  ของทุก  ๆ กายตลอดวงศ์สายขาว  สายกลาง ทั้งกาย  เถา-ชุด-ชั้น-ตอน-ภาค-พืด    มาซ้อนสับทับทวีเข้าในรัตนะ  7  ประการนั้นทั้ง  7  อย่าง  หรือเฉพาะอย่างเดียวก็ได้  คือเมื่อเอารัตนะอย่างหนึ่ง  อีก  6  อย่างก็คงมารวมในรัตนะอย่างเดียวนั้นทั้งหมด   เช่น  จะรวมในจักรแก้ว  รัตนะอีก  6  ก็รวมในจักรแก้วหมดทุกอย่าง  หรือจะไม่รวมเฉพาะอย่าง   ให้คงเป็นสัตตรัตนะอยู่ครบทั้ง  7  ก็ได้  สุดแท้แต่จะต้องการ  แล้ว
กลั่นให้ใสทั้ง  7  แล้วเอามือขวาของกายมนุษย์นี้ถือจักร  มือซ้ายถือดวงแก้ว  ส่วนรัตนะอีก  5  อย่างนั้น  เอาข้าไว้ในกายมนุษย์   กลั่นให้กายใสเป็นแก้ว  นี้เป็นการยืนพื้นไว้เป็นมูลเดิม   แล้วพิสดารรัตนะ  7  ออกไปตามแต่จะต้องการใช้
        2.ดูสัณฐานนิพพาน  ภพ  3   โลกันต์ในจักรวาล
จักรวาลนี้มีสัณฐานกลม   มีภูเขาเป็นเขตล้อมรอบ   ภายในจักรวาลมีนิพพานอยู่ส่วนเบื้องบน   เบื้องกลางคือภพ  3   เบื้องต่ำคือภพโลกันต์เป็นราก
        นิพพานปรุงแต่งขึ้นด้วยธาตุธรรมแก้วกายสิทธิ์   ใสสว่างบริสุทธิ์ไปด้วยแก้วกายสิทธิ์   ทั้งพื้นและอากาศเบื้องบนและข้างขวา  ข้างซ้าย   ภายในนิพพานนั้น   สำเร็จไปด้วยแก้วกายสิทธิ์ทั้งนั้น   นิพพานมีลักษณะสัณฐานกลมดังลูกกระสุน   รอบนอกก้อนกลมนั้นเป็นอากาศว่างสะอาด   และละเอียดบริสุทธิ์  ก้อนกลมนั้นลอยอยู่กับอากาศ   มีอากาศที่สะอาดละเอียดรองรับอยู่   ภายในก้อนกลมนั้นเป็นเมืองนิพพาน   เป็นที่เสด็จอยู่ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย   เป็นที่เสด็จอยู่      ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย   มากกว่าเมล็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง  4  
         พื้นว่างและอากาศเป็นพื้นเบื้องบน   และอากาศที่เป็นพื้นข้างขวาข้างซ้ายภายในก้อนกลมนั้น   สำเร็จไปด้วยแก้วกายสิทธิ์ทั้งนั้น   มีพระพุทธเจ้านั่งเป็นแถวเรียงกันไปสุดหูสุดตา   จะนับจะประมาณมิได้   มีขนาดองศาเท่า ๆ กัน  เกตุดอกบัวตูมเป็นแก้วขาว   หน้าตักกว้าง  20  วา  สูง  20  วาเท่ากัน   ที่เป็นพระพุทธเจ้าเนื้อแก้วก็ใสสะอาด   ที่เป็นพระสาวกและพระสาวิกา  เนื้อแก้วก็ใสละเอียดลดลงมากกว่าพระพุทธเจ้า   เป็นเพชรน้ำที่รอง ๆ กันลงมา   และมีแก่อ่อนกว่ากันเป็นชั้น ๆ  ตามบารมีแก่ อ่อน  กว่ากันหรือตามธาตุธรรมอ่อนแก่กว่ากัน
           ดูภพ 3  คือ  อรูปภพ   รูปภพ  กามภพ  นั่นคือ  อรูปภพเป็นสุดเบื้องบน  และอเวจีนรกเป็นที่สุดเบื้องล่างของภพ  3   อรูปภพตั้งลอยอยู่บนอากาศ   ปรุงแต่งขึ้นด้วยธาตุธรรมเป็นแก้วกายสิทธิ์เหมือนกัน  แต่หยาบกว่าชั้นนิพพานลงมา   ตามชั้นพื้นเบื้องล่างและอากาศเบื้องบน  และเบื้องขวา  เบื้องซ้ายของอรูปภพนั้น   สำเร็จด้วยแก้วกายสิทธิ์  แต่หยาบกว่าชั้นนิพพานมาก
           เมื่อดูอรูปพรหม    จะเป็นเป็นรูปอยู่ภายในดวงแก้ว    หน้าตักกว้าง 1 คืบ สูง 1 ศอก  นั่งอยู่ภายในดวงแก้วกลม ๆ หุ้มห่ออยู่   ตั้งเป็นแถวเป็นแนวเรียบรายไปจนสุดหูสุดตาเต็มไปหมด
          ส่วนอรูปพรหมอีก 3  ชั้นต่ำลงมานั้น  ก็เช่นเดียวกับชั้นบน   ต่างแต่หยาบกว่ากันลงมาเป็นชั้น ๆ ทุกที คือ อรูปพรหมชั้นอากิญจัญญายตนะ     หยาบกว่าชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ  และอรูปพรหมชั้นวิญญานัญจายตนะ  หยาบกว่าอรูปพรหมชั้นอากิญจัญญายตนะ  และอรูปพรหมชั้นอากาสานัญจายตนะหยาบกว่าชั้นวิญญานัญจายตนะ
         เมื่อดูอรูปพรหมแล้ว  ก็มาดูชั้นรูปภพลงไปเป็นลำดับตั้งแต่ชั้นพรหม  16  ชั้นลงไปจนถึงสวรรค์  6  ชั้น  ต่อมาก็ดูชั้นมนุษย์  จากนั้นมาดูชั้นอบายภูมิ  4  แล้วมาดูชั้นอเวจี   อันเป็นที่สุดของภพ  3  เมื่อดูชั้นภพ 3  เสร็จแล้วให้ดูภพโลกันต์ต่อไป

         สรุปว่า

จักรวาลประกอบด้วยนิพพานเป็นยอด  ภพ 3  เป็นลำตัว   โลกันต์เป็นราก
ภพ 3   ประกอบด้วยอรูปภพ 4 ชั้นเป็นยอด   รูปภพ 16 ชั้นเป็นลำตัว   กามภพ(ภพทั้งปวงที่เสพกามตามลักษณะอ่อนแก่หยาบละเอียดของธาตุและธรรมรวมทั้งนามธรรม) เป็นราก
       กามภพ  ประกอบด้วย  สวรรค์  6  ชั้นเป็นยอด   มนุษย์เป็นลำตัว  นรก 543 ขุม และ( ยังมีอบายภูมิ 4  คือเปรต  อสุรกาย  นรก  และสัตว์เดียรฉาน ) เป็นโคนต้น  อเวจีเป็นราก (เป็นที่สุดของภพ 3 )

โลกันต์  เป็นอีกภพหนึ่งอยู่ต่ำกว่าภพ  3

        3.วิธีประกอบวิชชา  และทำวิชชาพิสดาร  ประกอบวิชชาพิสดารลงไปเท่าไร   กายมนุษย์คอยตรวจ
ดูพวกที่เข้านิพพาน   พวกไปเกิดมาเกิด  ตั้งแต่โลกันต์นรก   สัตว์เดรัจฉาน   เปรต   อสุรกาย   มนุษย์   ทิพย์   รูปพรหม   อรูปพรหม   และนิพพาน
         ดูตลอดแล้ว   จะเห็นว่า   ในศูนย์กลางกำเนิดของกายทุกกาย   มีเครื่องรับส่งกาย   ให้ไปเกิดมาเกิดในภพต่าง ๆ ได้ทุกกาย   นอกจากกายเหล่านี้แล้ว  ภพทุกภพ   ที่ขอบภพข้างล่างและขอบภพข้างบน   ต่างก็มีเครื่องสำหรับรับส่งกาย   ให้เข้ามาในภพ  และส่งกายออกไปนอกภพ
        ใน “ศูนย์กลางภพ”  ก็มีเครื่องรับส่งตรงกันกับศูนย์กำเนิดของกายทุกกาย   ตัวอย่างเช่น   จากศูนย์กลางภพของโลกันต์   ก็มีเครื่องรับส่งสัตว์โลกันต์ไปยังขอบภพของโลกันต์   และที่ขอบภพของโลกันต์   ก็มีเครื่องรับส่งกายสัตว์เหล่านั้นไปยังภพนอก   และรับสัตว์เข้ามาในภพเช่นเดียวกัน
        ให้เราลองปล่อยกายของพระอนาคามีให้เข้าในพระนิพพารน   ตรวจดูให้ตลอดแล้ว   ปรากฏว่าในชั้นต้น   กายนั่งหันหน้าไปทางทิศบูรพา   จึงให้กายธรรมเดินสมาบัติ  กลับไปกลับมา  7  เที่ยว  วิธีเดินฌานสมาบัติ  ให้เดินจากฌานที่  1   ถึงฌานที่  8  นับเป็นอนุโลม 1 เที่ยว   แล้วกลับจากฌาน 8  ถึง  ฌาน 1  เป็นปฏิโลมเป็น 2 เที่ยว  ให้ทำจนถึง  7  เที่ยว  แล้วกายนั้นก็ไปหยุดอยู่ที่ฌาน 8  ในเวลาที่เดินฌานอยู่นั้น  กายธรรมเกิดความยินดีในสมาบัติ  จะปล่อยให้ตกศูนย์ไปยังนิพพานไม่ได้
        เพราะฉะนั้น  เมื่อถึงฌานที่ 8  แล้ว  กายธรรมและกายอรูปพรหม  กายรูปพรหม  กายทิพย์  กายมนุษย์  ทุกกายก็พิจารณาปล่อยขันธ์ 5  ปล่อยตั้งแต่กายหยาบไปหากายละเอียด   กายธรรมก็พิจารณาปล่อยรูปฌาน  อรูปฌาน  ปล่อยความยินดีในฌาน   ปล่อยความจำ  ความคิด  ความรู้  ของความยินดีที่มีอยู่ในฌานนั้น  ทั้งสิ้น

         เมื่อปล่อยหมดแล้ว   พร้อม ๆ กันกับที่  “ปล่อยขาด”นั้น  กายธรรมที่หยาบก็ขาด   กายธรรมที่ละเอียดก็ตกศูนย์แล้ว  ทั้งนี้เพราะศูนย์กลางกายธรรมนั้น  มีเครื่องคอยรับส่งอยู่แล้ว  เครื่องนั้นก็ดูดให้ตกศูนย์   แล้วเครื่องนั้นก็ทำหน้าที่เดินส่งกายธรรมไปยังขอบภพข้างบน

                                ที่เอามาทั้งหมดยังไม่หมด อย่าเอาไปฝึก ด้วยข้าฯกลัวท่านอันตราย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น